บ่อยครั้งระหว่างการ coaching มักจะพบ 2 คำถามจากผู้บริหารในระหว่าง class
คำถามแรก :
การคิดกลยุทธ์ด้วยวิธีการที่เรียกกันว่า rational analytical approaches to strategy formulation หรือพูดกันให้ง่ายก็คือ การเป็น coach สอนกลยุทธ์ด้วยการอิงกับการมีรูปแบบ มีหลักการ มีสูตร และใช้การวิเคราะห์ด้วยเหตุด้วยผล เมื่อเทียบกับการใช้ประสบการณ์ ความคิดสร้างสรรค์และสัญชาตญาณ (intuition) จะไม่ขัดหรือแย้งกันหรือ เนื่องจาก SMEs เป็นจำนวนมากเติบโตขึ้นมาจากการใช้สิ่งเหล่านี้
ตอบคำถามข้อแรก :
ไม่ได้เป็นการขัดหรือแย้ง หรือแม้แต่ลดทอนบทบาทของการใช้ประสบการณ์หรือสัญชาตญาณ แต่อย่างใด
เนื่องจากสัญชาตญาณ ประสบการณ์และความคิดสร้างสรรค์ ถือเป็นคุณสมบัติที่มีความจำเป็นต่อความสำเร็จในการจัดทำกลยุทธ์ ไม่ว่าการคิดกลยุทธ์จะเป็นรูปแบบที่เป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ ในทางกลับกันหากมีรูปแบบวิธีการอย่างมีตรรกะด้วยการวิเคราะห์กลับเป็นการเสริมและนำไปสู่ความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น และช่วยให้เกิดการตัดสินใจ การบริหารจัดการไปในทิศทางเดียวกัน สามารถช่วยป้องกันการตัดสินใจสำคัญๆ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์ ไม่นำไปสู่การถกเถียงกัน หรือการใช้ความอำเภอใจหรือแค่ตามยุคตามสมัยให้เหมือนคนอื่น หรือเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนระหว่างผู้บริหาร ถือเป็นการจัดการลดความเสี่ยง (helps protect strategic decision making from power battles whims, fads and wishful thinking)
แนวคิด ทฤษฎีและเครื่องมือในการวิเคราะห์กลยุทธ์กลับเป็นการช่วยเพิ่มคุณค่า แต่ไม่สามารถทดแทนการใช้ สัญชาตญาณหรือความคิดสร้างสรรค์ได้แต่อย่างใด การคิดอย่างมีรูปแบบเชิงตรรกะ จะช่วยทำให้เกิดกรอบในระหว่างการวิเคราะห์แลกเปลี่ยนความเห็น (Framework) ตลอดจนทำให้ข้อมูลและสารสนเทศเกิดการจัดทำแบบเป็นกระบวนการ ที่สำคัญเป็นการนำไปสู่ความเห็นชอบหรือเป็นมติที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องและตกลงกันได้ด้วยความสมัครใจ
ต้องเข้าใจก่อนว่าการวิเคราะห์กลยุทธ์ไม่ใช่เป็นการสร้างสูตรการวิเคราะห์แบบเบ็ดเสร็จ (algorithm) สามารถปรับมาใช้ได้ ไม่สามารถนำมาใช้แบบทันที จุดมุ่งหมายของการวิเคราะห์กลยุทธ์ ไม่ใช่เป็นการตอบคำถามแต่เป็นการช่วยให้ผู้บริหารในระดับสูงสามารถที่จะสำรวจ ตรวจสอบประเด็นสำคัญๆ อะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับการคิดกลยุทธ์ เพราะการที่เราได้มี framework จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบปัจจัยต่างๆ ซึ่งได้รับผลหรือส่งผลต่อสถานการณ์ในเชิง กลยุทธ์ และที่สำคัญเป็นการจัดรูปแบบข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบที่เป็นฐานสำคัญในการคิดกลยุทธ์
ในโลกปัจจุบัน จริงๆ แล้วการตัดสินใจของ SMEs ที่ประสบความสำเร็จต่างต้องใช้ข้อมูลและสารสนเทศกันทั้งนั้น สัญชาตญาณเป็นการสรุปรวบยอดจากสิ่งต่างๆ รวบรวมสารสนเทศอยู่ในสมองทั้งแบบเป็นระบบหรือไม่เป็นระบบ แต่เนื่องจากในยุคปัจจุบันเมื่อธุรกิจขององค์กรขยายตัว มีความสลับซับซ้อน มีข้อมูลมหาศาลจากการพัฒนาเทคโนโลยี การจัดรูปแบบและโครงสร้างของข้อมูลและสารสนเทศต่างๆ อย่างเป็นระบบ ขณะที่ใช้ strategy formulation จะช่วยให้เกิดความแม่นยำมากขึ้น และในฐานะ coach บทบาทหน้าที่สำคัญที่สุดก็คือ การให้ผู้บริหารได้เข้าใจถึงกรอบ รูปแบบ เครื่องมือในการวิเคราะห์ (analytical tools) เพื่อช่วยให้ผู้บริหารมีความมั่นใจในการสร้างกลยุทธ์และตัดสินใจ ช่วยทำให้เกิดความเข้าใจและสามารถตอบโต้ต่อสถานการณ์ สภาวะแวดล้อมที่กำลังเปลี่ยนและจะเปลี่ยนไปในอนาคตได้ดีกว่า การคิดเพียงการใช้เพียงสัญชาตญาณ ทั้งนี้การจัดสรรทรัพยากรองค์กรผ่านการจัดทำงบประมาณที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Capex หรืองบประมาณการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนจะจัดทำแบบถูกต้องแม่นยำได้ยากมาก หากปราศจากการมีรูปแบบหรือใช้วิธีการแบบมีสูตร
Comments