เคยเชื่อกันว่าปี 2563 เป็นช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดในช่วงชีวิตคนที่เกิดมาในยุคนี้ แต่ตั้งแต่ปลายปีเป็นต้นมาจนกระทั่งบัดนี้ เกิดการเปลี่ยนแปลงและเกิดปรากฏการณ์ที่เราไม่อาจคาดเดาตอนจบได้มากกว่าปีที่แล้ว
น่าจะเรียกได้ว่านี่คือ การเข้าสู่ช่วงของ The next new different normal เป็นการบรรจบของปัจจัยหลักๆ 4 ประการได้แก่
ประการแรก : การเปลี่ยนแปลงลัทธิความเชื่อของโลกาภิวัฒน์ ซึ่งส่งผลต่อความไม่แน่นอนของภูมิทัศน์ทางการเมืองระหว่างมหาอำนาจ 2 ค่ายหลัก ซึ่งต่างแย่งชิงการเป็นมหาอำนาจโลก (Hegemony)
ประการที่สอง : การระบาดการแพร่กระจายของ Covid-19 และกลายพันธุ์
ประการที่สาม : การเข้าสู่ระยะ full-fledged ของ digital disruption
ประการสุดท้าย : ความเปราะบางของประเทศไทยทั้งในแง่เศรษฐกิจ สังคมและการเมือง
เฉพาะ disruptive change ครั้งนี้ แตกต่างกว่าการเปลี่ยนแปลงในหลายยุคที่ผ่านมา เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งฝั่งอุปสงค์และอุปทานโดยรวม (aggregated both demand and supply) ตลอดจนโครงสร้างเชิงสถาบัน (institutionalized structure) อันได้แก่ วัฒนธรรม วิธีคิด วิถีชีวิต ที่สำคัญพฤติกรรมของผู้คน เราต่างต้องใช้ชีวิตแบบ on-life –digital เกิดความถ่างหรือความห่างที่สูงขึ้นทั้งจากทั้งการเว้นระยะห่างทางกายภาพ (physical distancing) และการเว้นระยะห่างทางสังคม (social distancing) พร้อมกันไป
จากปัจจัยเบื้องต้นในทางธุรกิจ ทำให้องค์กรเป็นจำนวนมาก ถึงจุดที่เรียกกันว่า “Strategic inflection point” ธุรกิจเต็มไปด้วย ความคลุมเครือ แปรปรวน ไม่แน่นอน และเพิ่มระดับความซับซ้อนมากขึ้น ถือเป็นช่วงเวลาในการพิสูจน์ฝีมือ และความสามารถของผู้บริหารธุรกิจอย่างแท้จริง และเป็นช่วงเวลาที่จะเห็น เข้าใจเชิงประจักษ์อย่างแท้จริงว่า บทบาท และหน้าที่ของ “กลยุทธ์และการจัดการ” มีความสำคัญและจำเป็นเพียงใด
ในช่วงเวลาเช่นนี้ การดำเนินธุรกิจ การตัดสินใจโดยปราศจาก “road map และไม่มี playbook” โดยใช้ sense of direction เพียงเพื่อสร้างยอดขายและใช้วิธีการเดิมๆ คงจะได้ภาพเพียงความสำเร็จในระยะสั้นๆ เป็นช่วงๆ ไม่สามารถมองเห็นภาพในระยะต่อไปได้ (lacking balanced picture) จะเป็นความเสี่ยงที่สูงมากสำหรับองค์กรทั้งหลาย
การที่ได้เรียนและศึกษาวิชาการจัดการเชิงกลยุทธ์ในช่วงเวลานี้ ด้วยความตั้งใจ ทุ่มเทและให้ความสำคัญ จะเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งที่ช่วยให้องค์กรไม่เพียงอยู่รอด แต่จะสามารถเพิ่มผลกำไรพร้อมกับยอดขายให้องค์กรมีเสถียรภาพเติบโตลดความเสี่ยงทางธุรกิจ และเพิ่มความมั่นใจได้ว่า องค์กรของท่านจะสร้างและส่งมอบคุณค่าให้ลูกค้าที่เหนือกว่าคู่แข่งได้อย่างไร รวมถึงการรู้วิธีการแบบเป็นเหตุเป็นผลในการบรรลุเป้าหมายรวมขององค์กร ที่สำคัญที่สุดจะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างขีดความสามารถในเชิงการแข่งขัน (competitive advantage) ซึ่งถือเป็นรากฐานสำคัญที่สุดของความยั่งยืน
ขอบคุณที่ติดตามครับ
หากมีข้อสงสัย หรือต้องการสอบถามเพิ่มเติมถึงผลกระทบต่อองค์กรของท่าน สามารถฝากคำถามไว้ได้ที่ https://lin.ee/NrQB3Yn นะครับ
Comments