top of page
  • ไอคอนสีดำทวิตเตอร์
  • Facebook
  • Linkedin
  • Writer's pictureSasorn Soratana

คาดการณ์วิกฤติครั้งต่อไปในอนาคต และแนวทางการจัดการองค์กร Part 1

Updated: Sep 10, 2021

How to predict unexpected crises and handle your firm to alleviate and continue business.

คาดการณ์วิกฤติครั้งต่อไปในอนาคต และแนวทางการจัดการองค์กร


หลักคิดและวิธีการเพื่อคาดการณ์วิกฤติและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

จะจัดการเพื่อรับมืออย่างไร เพื่อทำให้องค์กรยังสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง


“Every crises is always hidden with opportunities and threats, it depends on how one looks at them.”

Sasorn Soratana



จากการสำรวจของ PwC (ฉบับประเทศไทย) ในเรื่องเกี่ยวกับการวางแผนรับมือวิกฤติล่วงหน้า พบว่ามีเพียง 31% เท่านั้นของผู้ตอบแบบสอบถาม ที่มีการเตรียมทีมรับมือกับวิกฤติไว้ล่วงหน้า (รายละเอียดผลสำรวจสามารถติดตามได้ทาง Internet)


ก่อนหน้าวิกฤติโควิด-19 โลกและประเทศไทยได้เผชิญกับ Technology disruption มาพักใหญ่ก่อนแล้ว ในกรณีประเทศไทย ผู้เขียนเห็นว่า เรามีแนวโน้มที่ต้องเผชิญกับวิกฤติต่างๆ อีก หลายประการ ตั้งแต่ เศรษฐกิจ โดยเฉพาะวิกฤติการเงิน การคลัง การเมืองระดับโลกซึ่งมีทางโน้มที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้น (เพราะเราเป็นประเทศเล็กและเป็นระบบเปิด (open system) รวมถึงภาวะเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและสิ่งแวดล้อม ที่มีความเปราะบาง ดั่งที่ทุกท่านคงทราบกันดีอยู่แล้ว นอกจากนี้ภัยพิบัติธรรมชาติ อาทิ ภัยแล้ง ฝนที่จะตกหนักที่สุดในรอบ 30 ปี ก็มีโอกาสจะเกิดขึ้น รวมถึงการกลายพันธุ์ของโควิด-19 ที่เรียกกันว่า เป็นเสมือน Triple mutant ที่อินเดียประสบอยู่ ไวรัสมีความรุนแรง และการแพร่ระบาดที่อาจจะไม่จบลงง่ายๆ อย่างที่เคยเป็นมาก่อน เราไม่ควรมองข้ามความจำเป็นในการถอดบทเรียนราคาแพงจากวิกฤติครั้งนี้ เตรียมแผนรับมือแต่เนิ่นๆ


ในห้วงเวลาแบบนี้ จึงเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ยากหรือไม่สามารถคาดการณ์อะไรได้ เต็มไปด้วยความผันผวน … แต่ทว่า ธุรกิจยังคงต้องดำเนินต่อไป (the show must go on) ผู้เขียนหวังว่าหากผู้บริหารได้อ่านและติดตามบทความฉบับนี้ จะพบว่า การวางแผนรับมือและวิธีการในการคาดการณ์ประเภทของวิกฤติ จะเป็นประโยชน์อย่างมาก เพราะเขียนจากประสบการณ์จริงในฐานะที่เคยเป็นผู้บริหารมืออาชีพมาก่อน …. ที่สำคัญธุรกิจท่านไม่ควรถูกนับรวมอยู่ใน 31% นะครับ


การรับมือกับวิกฤติแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่ต่อเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน มีกูรูทั้งนักธุรกิจและอาจารย์เป็นจำนวนมากได้ออกมาให้คำแนะนำผ่านสื่อสาธารณะ ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าน่าจะไม่จำเป็นต้องเขียนซ้ำอีก แต่น่าจะมองข้ามเลยไปถึงเหตุการณ์หรือสภาวะภายหลังวิกฤติครั้งนี้ ดังนั้นบทความนี้จะขอเขียนถึง การประเมินและคาดการณ์กับวิกฤติต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น ตลอดจนการจัดการวางแผนรับมือ เตรียมการเพื่อบรรเทาผลกระทบและทำให้กิจการยังคงสามารถดำเนินการต่อไปได้


บทความเขียนขึ้นจากประสบการณ์จริงด้วยการอิงกับการใช้องค์ความรู้ วัตถุประสงค์ก็เพื่อหากได้อ่านแล้ว อาจเห็นมุมมองใหม่ เป็นจุดเริ่มต้นเตรียมการและสามารถนำไปปรับใช้ได้ตามความเหมาะสม อันจะเป็นประโยชน์กับผู้บริหารองค์กรครับ


ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจว่า unexpected crises ที่จะส่งผลกระทบ ไม่ได้มีเพียงการแพร่ระบาดของเชื้อโรค ยังมีทั้งภัยธรรมชาติ อาทิ ความแห้งแล้ง พายุ น้ำท่วมใหญ่ การจลาจล ความขัดแย้งที่นับวันจะทวีความเข้มข้นของภูมิรัฐศาสตร์ระดับโลก เป็นต้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อทั้งสายโซ่อุปทาน และอุปสงค์ หรือแม้แต่การ disrupt ของเทคโนโลยี หรือแม้แต่วิกฤติการเงินในระดับโลก ซึ่งอาจส่งผลต่อประเทศและอุตสาหกรรมเราโดยตรง ที่กล่าวมาเป็นบางส่วนเท่านั้นนะครับ


เรื่องนี้ถือเป็นการจัดการและป้องกันความเสี่ยงที่ไม่อาจมองข้ามไปได้ ส่วนตัวของผู้เขียนเห็นว่าจำเป็นที่จะต้องทำ ผลพลอยได้อีกประการจากการคาดการณ์ unexpected crises ท่านอาจได้เห็นโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ พร้อมไปด้วย เพราะการวิเคราะห์ขณะทำเรื่องนี้ต้องพิจารณาแนวโน้มและปัจจัยของสภาวะแวดล้อมภายนอกในระดับ board และ task environment ที่ส่งผลกระทบต่อองค์กรและอุตสาหกรรมที่องค์กรดำเนินการอยู่ ตลอดจนคำนึงถึง การเข้ามาของอุตสาหกรรมอื่นและการ cross industry อันเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยทักษะ ประสบการณ์ การค้นหาข่าวสารข้อมูล (information) สำคัญที่เกี่ยวข้องและรวมถึงการใช้จินตนาการที่อิงกับโอกาสที่จะเป็นไปได้และเกิดขึ้นได้


นอกเหนือจากนี้แล้ว ยังต้องพร้อมไปกับการพิจารณาลงลึกถึงปัจจัยของสภาวะแวดล้อมภายใน (internal environmental factors) ซึ่งผู้เขียนต้องการเน้นเฉพาะแต่ละกิจกรรมสำคัญ (important activities) ที่จำเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์กับภายนอก (interface or interact) ไม่ว่าจะเป็น suppliers ช่องทางการจัดจำหน่ายหรือแม้แต่กับลูกค้าโดยตรง การได้พิจารณาลงลึกในระดับกิจกรรม ท่านอาจได้เห็นช่องว่างและแนวทางที่สามารถจะลดต้นทุนค่าใช้จ่าย ทำให้มองเห็นช่องทางกลยุทธ์ใหม่ๆ ได้อีกด้วย


อย่างไรก็ตามเนื่องจากแต่ละธุรกิจ ล้วนมีลักษณะและปัจจัยเฉพาะ ตัวแปรที่ใช้การคาดการณ์ย่อมต้องแตกต่างกันไป หรือให้น้ำหนักไม่เท่ากัน ผลกระทบของตัวแปรมีความรุนแรงไม่เหมือนกัน บทความนี้จึงได้เขียนแนวทางแบบครอบคลุมซึ่งท่านสามารถเข้าใจ และนำไปปรับใช้ได้ตามความเหมาะสม หากผู้อ่านที่เป็นสมาชิก ลูกศิษย์หรือองค์กรที่ผมเคยเป็นที่ปรึกษา จะเห็นความชัดเจนครอบคลุมใน Model “The Overarching Picture; How Factors are affecting and affected” และข้อย้ำอีกครั้งสำหรับบรรดาสมาชิกและลูกศิษย์นะครับ ว่าต้องไม่ลืมพิจารณาสัมประสิทธิ์ระหว่างตัวแปรด้วย เพราะมีความสำคัญมาก ตัวอย่างเช่น วิกฤติโควิด-19 ครั้งนี้ เป็นตัวแปรภายนอก แต่ผลกระทบส่งผลโดยตรงและรุนแรงต่อปัจจัยภายนอกตัวอื่นๆ เช่น ภาวะเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม หรือไม่ว่าจะเป็นกำลังซื้อ ภาวะเงินเฟ้อ หนี้สินภาคครัวเรือน การหดตัวของ demand ดังเช่นที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและบริการ แต่อาจเป็นโอกาสกับธุรกิจผลิตเวชภัณฑ์การแพทย์ เช่น ถุงมือยาง หน้ากากอนามัย textile เพื่อการแพทย์ อาหารเสริม และกับธุรกิจบริการอื่นๆ อาทิ logistic ดั่งที่เห็นได้จากการขยายตัวแบบก้าวกระโดดของ Grab เป็นต้น ผมขอเข้าประเด็นเลยนะครับ คงต้องเริ่มกันเป็นหัวข้อๆ ไป



ติดตาม Part 2 ในหัวข้อ "แนวคิดและเครื่องมือการวิเคราะห์วิกฤติ"


ขอบคุณที่ติดตามครับ




60 views0 comments

Opmerkingen


StrategicCoach2
bottom of page