top of page
  • ไอคอนสีดำทวิตเตอร์
  • Facebook
  • Linkedin
  • Writer's pictureSasorn Soratana

การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก (External analysis) สำคัญต่อการทำกลยุทธ์อย่างไร

Updated: Sep 10, 2021

การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก ตลอดจนระบุโอกาส อุปสรรค และภัยคุกคามภายนอกในระดับโลก สำคัญต่อการเตรียมทำแผนกลยุทธ์อย่างไร?


เมื่อเสถียรภาพของโลกแขวนอยู่บนความขัดแย้งระหว่างประเทศมหาอำนาจในการแย่งชิงความเป็นใหญ่และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน


ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมาเราคงจะเห็นแนวโน้มปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นและชัดเจนมาโดยตลอด ทั้งการแย่งชิงความเป็นใหญ่ทั้งในเรื่องนวัตกรรม เทคโนโลยี การสื่อสารระหว่างสหรัฐกับจีน กอปรกับการช่วงชิงอำนาจเหนือในเชิงภูมิรัฐศาสตร์


ส่งผลถึงระบบเศรษฐกิจของโลกต้องแปรปรวน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง supply chain และการขึ้นกำแพงภาษีของแต่ละประเทศ เป็นช่วงเวลากับที่เศรษฐกิจของทั้งโลกค่อนข้างมีการเติบโตที่น้อยในระดับต่ำ

เมื่อปีเศษที่ผ่านมาเจอผลกระทบจากทางด้านการแพร่ระบาดจากไวรัสโควิด-19 ยิ่งส่งผลให้เศรษฐกิจของโลกชะงักงันมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง

มาตรการของประเทศมหาอำนาจทั้ง สหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่น เป็นต้น ต่างก็ออกมาตรการผ่อนคลายด้วยการใช้ Quantitative Ease (QE) ทำให้สกุลเงินดอลลาร์อ่อนแรง และเมื่อเทียบกับเงินบาท ค่าเงินบาทจึงแข็งขึ้น

ในช่วงเวลานี้แนวโน้มราคาทองคำมีแนวโน้มสูงขึ้นเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยของประเทศมหาอำนาจต่างๆ ลดลงเกือบใกล้ศูนย์ ปริมาณเงินที่ออกมามีเป็นจำนวนมาก ทำให้ yield bond ต่ำลง จนเป็นเหตุให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนเพื่อมาลงในตลาดเกิดใหม่หรือตลาดที่มีอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่า ดังที่ปรากฏให้เห็นแล้วสำหรับประเทศไทย คาดกันว่าแนวโน้มของเรื่องนี้จะคงมีอยู่ต่อไปอย่างน้อยกลางปีข้างหน้า

แม้นว่าจะมีการเปลี่ยนประธานาธิบดีแต่นโยบายของประธานาธิบดีสหรัฐคนใหม่ก็ไม่ได้ส่งผลในทางบวกต่อประเทศไทย อุษาคเนย์สักเท่าไหร่

ในขณะที่ประเทศจีนมุ่งเน้นการส่งออกผลิตภัณฑ์เข้าสู่ประเทศในเอเชีย รวมถึงมีนโยบายให้ผู้ประกอบการในประเทศจีนเข้ามาลงทุนในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในอุษาคเนย์นี้ ประเทศจีนยังคงใช้นโยบายในการเน้นการบริโภคในประเทศที่เรียกกันว่า “dual track policy”

ราคาน้ำมันจะมีแนวโน้มขาขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง แต่อาจจะเกิน 60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลในระดับหนึ่ง เนื่องจากนโยบายการให้ยุติการใช้วิธีการสกัดน้ำมันดิบด้วยระบบทแยง

และการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปของประเทศมหาอำนาจ ซึ่งจะเห็นได้จากการที่ตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลนในช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา

ระบบ world supply chain ยังคงอยู่กับความไม่แน่นอน และยังคงแบ่งเป็นสองค่ายระหว่างจีนกับประเทศพันธมิตรของสหรัฐ

กล่าวโดยสรุป

ปัจจัยในระดับเศรษฐกิจของโลกยังไม่สดใสเท่าที่ควร เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนและความคลุมเครือ

สำหรับการเมืองระหว่างประเทศ ยังคงเป็นลักษณะที่เรียกกันว่า deglobalization คือ ต่างฝ่ายต่างคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศของตนเอง

ในเชิงสังคมโลก การกีดกันทางด้านเชื้อชาติ หรือชนชาติ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และจะเกิดความเคลื่อนไหวทางสังคมใหม่ๆ เกิดขึ้น (new social movement) ถือเป็นช่วงเวลาที่มีความซับซ้อนและยากที่จะคาดเดาอนาคตได้

การทำแผนกลยุทธ์จึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องทำการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกในหลายๆ ระดับ ตั้งแต่ระดับโลก ระดับประเทศ จนมาถึงระดับอุตสาหกรรม เพราะทุกสิ่งล้วนส่งผลกระทบต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่





123 views0 comments

Comments


StrategicCoach2
bottom of page